วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2558

DEAD Innovation นวัตกรรมที่เกิดจากความตาย


ก่อนอื่นใด
ขอแสดงความเสียใจกับเหตุการณ์ที่แยกราชประสงค์

การสูญเสียครั้งนี้จะต้องไม่สูญเปล่า
พวกเราต้องนำมาเป็นพลังขับดันในการสร้างสรรค์สิ่งดีต่อไป

เช่นเดียวกับนวัตกรรมหลายๆอย่าง ที่เกิดขึ้นจากความตาย
อาทิ เข็มขัดนิรภัยรถยนต์


3-Point Seat Belt หรือ เข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดยึดบนที่นั่งรถยนต์นั้น
เพิ่งครบรอบ 56 ปี ในวันที่ 13 สิงหาคม ที่ผ่านมา ช่วงใกล้กับเหตุการณ์ที่แยกราชประสงค์

นวัตกรรมนี้คิดค้นโดย Nils Bohlin วิศวกรของ Volvo
ซึ่งสิ่งที่งดงามที่สุดของนวัตกรรมนี้ คือ การอนุญาตให้นำไปใช้ฟรี!!! เพื่อช่วยชีวิตผู้ขับขี่
ทำให้ได้รับการยกย่องว่าเป็นนวัตกรรมชิ้นหนึ่งที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์ในรอบ 100 ปี


นวัตกรรมเล็กๆ อีกอย่างหนึ่งของรถยนต์ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา คือ
"กล้องมองหลัง" อุปกรณ์เสริมมาตรฐานที่ช่วยให้ การถอยหลังปลอดภัยขึ้น

คำถามเพื่อนวัตกรรมต่อไปที่จะทำให้ชีวิตดีขึ้น ปลอดภัยขึ้น คือ 
"ทำไมไม่มีกล้องถ่ายด้านหน้ารถเป็นอุปกรณ์เสริมมาตรฐานแบบกล้องมองหลัง?"

หากการบรรจุกล้องถ่ายด้านหน้ารถยนต์เข้าไปเช่นเดียวกับกล้องมองหลัง
การค้นหาผู้กระทำผิดในเหตุการณ์แยกราชประสงค์คงสะดวกและรวดเร็วขึ้นอีกมาก
การตัดสินอุบัติเหตุบนท้องถนนคงรวดเร็วขึ้น 
การประกันภัยรถจะยกระดับขึ้น ฯลฯ

ยังมีอีกหลายคำถามที่จะช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ อาทิ

 "กล่องดำ หรือ กล่องบันทึกการบิน ทำไมไม่ Link ข้อมูลลงมาเก็บไว้ในที่ปลอดภัย?"

ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุกับเครื่องบิน เจ้าหน้าที่ต้องตามหากล่องดำเพื่อตรวจสอบข้อมูล
แต่หากข้อมูลได้ถูกส่งมาเก็บยัง Server แบบ Real Time ย่อมน่าจะทำให้หลายๆอย่างง่ายและดีกว่า

แน่นอนคำถามเหล่านี้ย่อมต้องมีอุปสรรคในการสร้างสรรค์ให้เป็นจริงและคงต้องโดนคำถามแย้ง

แต่อย่างไรก็ตาม อย่าเพียงแต่อ้างอุปสรรค อย่าเพียงแต่แย้ง
ขอให้ร่วมมือในการศึกษาและร่วมค้นหาคำตอบที่ดีสำหรับนวัตกรรมใหม่ๆ 
เพื่อคุณภาพชีวิตของเพื่อนมนุษย์กันต่อไป

THINKvestment ขอเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสรรค์นวัตกรรมดีเพื่อสังคมนะครับ
http://thinkvestment.com/course/innovation

ขอบคุณภาพจาก BBC Thai, wired.com และ thesuperslice.com

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Google ตั้งบริษัทใหม่มาเป็นเจ้านายตัวเองทำไม ?!?


Google ตั้งบริษัทใหม่มาเป็นเจ้านายตัวเองทำไม ?!?


ข่าวใหญ่ของวงการ Technology และ วงการธุรกิจ ของโลกในช่วงนี้
คือ การที่ Google ตั้งบริษัทใหม่ชื่อว่า Alphabet

โดย Alphabet เข้ามาเป็น "นายใหญ่สุด" ในการควบคุมบริษัทต่างๆของเครือของ Google
รวมทั้งมาควบคุม Google เองด้วย
คำถามก็คือ "ทำอย่างนี้ทำไม?"

คำตอบ

"บริษัทนวัตกรรม / ย่อมต้องการนวัตกรรมการจัดการ / เพื่อให้ได้โฟกัสในการทำนวัตกรรม"

หมายความว่า

ตั้ง Alphabet มาเป็น "พ่อบ้าน" เพื่อจัดการบริหารต่างๆ
เพื่อที่ Google เองจะได้ทำงานนวัตกรรมได้อย่างเต็มที่

ไม่ต้องเสียเวลาและวุ่นวายกับเรื่องจุกจิก

เพื่อได้ Focus กับ R&D และ Innovation ที่เป็น Core Value ของธุรกิจ



Apple ก็ทำแบบนี้เช่นกัน !!!


ผมได้เคยร่วมงาน "จุฬาฯ วิชาการ" สัมภาษณ์และคุยนอกรอบกับ 

คุณรัฐภูมิ วุฒิจำนงค์ อดีตคนไทยหนึ่งเดียวในทีมออกแบบของ Apple ที่ Silicon Valley
ตำแหน่งผู้นำทีมวิศวกรรมระดับสูง นำทีมออกแบบ Retina Displays 
สามารถจับประเด็นเคล็ดลับสำคัญในการจัดการนวัตกรรมของ Apple  คือ

การตั้งหัวหน้าทีม 2 คน ซึ่งระดับเท่ากันและทำงานร่วมกัน ดังนี้
1. Manager คือ ผู้จัดการบริหารเรื่องทั่วไป อาทิ เรื่องคน เรื่องเงิน เรื่องตารางเวลา
2. Chief คือ ผู้ควบคุมให้งานอยู่ใน Concept เป้าหมายที่ตั้งไว้ให้ได้

ทำไมต้องใช้ 2 คน?

ถ้าคนทำงานคงเข้าใจได้ว่า เมื่อคุณเป็นผู้จัดการ คุณย่อมมีเป้าหมาย
แต่ส่วนใหญ่กลับต้องไปทำงานจุกจิกจนล่าช้า ลืม หรือทำให้เป้าหมายคลาดเลื่อนไป

ซึ่งบริษัทนวัตกรรมระดับโลกอย่าง Google และ Apple ย่อมไม่ยอมให้เกิดเรื่องแบบนี้


"ถ้าคุณต้องการนวัตกรรมที่ดี / คุณต้องมีการจัดการนวัตกรรมที่ดี"


คุณเองก็สามารถสร้างนวัตกรรมได้ ลองศึกษาเพิ่มเติมนะครับ

http://thinkvestment.com/course/innovation


ภาพประกอบจาก The Guardian และ CNN-Money (บุคคลในภาพ Google คือ CEO คนใหม่ชื่อ คุณสุนทรา พิชัย)

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Slow Life แท้จริงมาจาก Fast Food !!!

Slow Life แท้จริงมาจาก Fast Food !!!

เรื่อง Slow Life เริ่มซาลงไปบางแล้ว
ผมจึงได้เอาเรื่องนี้มาคุย เพราะไม่อยากเกาะกระแส

Slow Life โดนตีความไปต่างๆนานา
แต่ตามข้อมูลและความเข้าใจของผมนั้น
แตกต่างจากความหมายที่ส่วนใหญ่เข้าใจกันพอสมควร
จึงขอเอามานำเสนอเป็นข้อมูลทางเลือกนะครับ

Slow Life ต่อยอดมาจาก Slow Food

Slow Food มาจากแนวคิดที่ต่อต้าน Fast Food

Fast Food หรือ อาหารขยะ ไม่ดีต่อสุขภาพ วัตถุดิบคุณภาพต่ำ อาทิ ใช้สารเร่งเนื้อแดง
การโต้แย้งอาหาร Fast Food จึงเริ่มจากการตั้งชื่อตรงกันข้ามว่า "Slow Food"

Slow Food เน้นอาหารที่มีคุณภาพต่อสุขภาพคนและสุขภาพโลก
กล่าวคือ กินแล้วดียังไม่พอ ที่มาของอาหารนั้นต้องดีต่อโลกด้วย อาทิ ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง



โลกเราตื่นตัวเรื่อง Slow Food และอาหารอย่างมาก 
โดยเห็นได้จากภาพจากของงาน Milan World Expo 2015
ในแนวคิดว่า Feeding The Planet Energy For Life
ซึ่งมี Pavilion แสดง Slow Food ถึง 3 ศาลา
(ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์คนโปรดผม Herzog & De Meuron
อาจไม่สวยเหมือนผลงานอื่นๆของเขา แต่ต้องลองศึกษา Concept จะพบว่า Slow Life มากๆ)

Slow Food จึงแตกออกมาเป็น Organic เกษตรอินทรีย์
ในที่สุดต่อยอดมาเป็นรูปแบบการใช้ชีวิต หรือ "Slow Life" นั่นเอง

ดังนั้น Slow Life จึงไม่ใช่เรื่องของ "ความช้า"
แต่เป็นเรื่องของการให้ "ความสำคัญกับคุณภาพชีวิต"

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Cannes 2015 ตอนที่ 3 ดีไซน์เป็นพระเอกโฆษณา


Cannes 2015 ตอนที่ 3 ดีไซน์เป็นพระเอกโฆษณา

ในระบบ Creative Economy แบบทุกวันนี้ Design คือ ปัจจัยสำคัญที่สุด
อาจเห็นได้จากชัยชนะในการแข่งขันธุรกิจต่างๆ 

อาทิ
ร้านอาหาร โรงแรม ที่ได้รับความนิยม ประสบความสำเร็จ
ย่อมมาจาก"ดีไซน์ดี" สวยงาม ถูกใจ
จนผู้บริโภคอดไม่ได้ที่จะต้องถ่ายภาพ Share ต่อใน Social Media

โฆษณาก็เช่นกัน
ผมสังเกตเห็นว่า ดีไซน์กลายมาเป็นพระเอกของโฆษณา มากขึ้นเรื่อยๆ

ยกตัวอย่างผลงานโฆษณาที่ได้รางวัล 2 ชิ้นแรก
ที่อาจได้เห็นมาบ้างแล้ว เพราะ "ดีไซน์ดีมากจนมีการแชร์มากมาย" 


1. Volvo; Life Paint 

ดีไซน์ง่ายๆ แต่ได้ผลดีจนลดอัตราการตายลงได้

สีสเปรย์สะท้อนแสงในที่มืด ใช้ฉีดจักรยานและเสื้อผ้าอุปกรณ์ยามขี่จักรยานตอนกลางคืน
เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนถนน





2. Samsung; The Safety Truck


ซัมซุง คือ ผู้ผลิตจอแสดงภาพที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ดังนั้นจึงเป็นการฉลาดมากที่นำจุดแข็งของตนเองมาใช้ประโยชน์

โดยการดีไซน์ให้ "จอ คือ พระเอกในการแก้ปัญหา"
ปัญหาอันตรายจากการแซงรถบรรทุกที่ไม่สามารถมองเห็นการจราจรข้างหน้า

อีกหนึ่งดีไซน์ที่ทุกคนสัมผัสได้ และทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น




ผลงานสุดท้ายนี้
ผมเป็นแฟนของโฆษณานี้ตั้งแต่การได้รางวัลตั้งแต่ปีที่แล้ว
และตั้งตารอดูผลงานในปีนี้ ซึ่งไม่ผิดหวัง สามารถคว้ารางวัลได้อีกครั้ง

Link นี้ คือ ผลงานปีที่แล้ว; 
สุดยอดการ Transform ของสื่อ จาก Mag Ad กลายเป็น Outdoor Ad และไปสู่ Online & App





3.  Nivea; Doll

ครีมกันแดดสำหรับเด็ก ที่ นีเวีย พยายามให้ผู้ใช้ตระหนักถึงความสำคัญ

แต่ผู้ใช้นั้นยังเป็นเด็กวัยกระจองอแง จึงใช้ "ตุ๊กตาที่เปลี่ยนสีเมื่อโดนแสง UV"
มาเป็นเครื่องมือในการหลอกล่อให้อยู่นิ่งเพื่อให้แม่ทาครีมกันแดดให้
ไปพร้อมๆกับการให้ความรู้กับหนูน้อยในการปกป้องผิวจากการทาครีมให้เจ้าตุ๊กตาและตนเอง

โฆษณานี้ เป็นตัวอย่างของงานดีไซน์ที่ดี 
ที่สามารถแก้ปัญหาและตอบโจทย์ไปได้หลายๆด้านไปพร้อมกัน




การสร้างสรรค์งานดีไซน์ที่ดีแบบนี้ คือ หลักการของ Design Thinking 
ซึ่งจะหาโอกาสนำมาเสนอในตอนต่อไปนะครับ

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Cannes 2015 ตอนที่ 2 กลุ่มโฆษณาด้านสิทธิมนุษยชน


Cannes 2015 ตอนที่ 2 กลุ่มโฆษณาด้านสิทธิมนุษยชน

The Glass Lion คือ รางวัลใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาไม่นาน
เพื่อให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศ

ขอยกตัวอย่างผลงาน 3 ชิ้นในกลุ่มนี้


1. โครงการต่อต้าน "การขลิบผู้หญิง" ในยุโรป

การขลิบไม่ได้มีแต่ในผู้ชาย 
ไม่ได้มีแต่ในเอเชียและตะวันออกกลาง
ผู้หญิงในยุโรปมีการขลิบเช่นกัน

โดยการขลิบดังกล่าวมีถึง 4 ระดับ (ต่างจากของชาย)
รุนแรงและส่งผลร้ายอย่างมากต่อผู้หญิงที่โดนกระทำ 
จึงเกิดการรณรงค์ต่อต้านนี้ขึ้น

ภาพประกอบชุดนี้ ทำโดยบริษัท Illusion ของไทย 
(CGI Artist ที่เก่งที่สุดในโลก...ใช่ครับ...ที่สุดในโลก)
ภาพ Print Ad สะท้อนเนื้อหาและความน่ากลัวของประเพณีนี้



2. #LikeAGirl "ทำเหมือน(เด็ก)ผู้หญิง" จาก P&G

Like A Girl เป็นเสมือน "คำดูถูก" 
นิยมใช้จนกระทั่งผู้หญิงยังรู้สึกลบกับคำนี้

แต่ P&G ที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับผู้หญิงพยายามจะเปลี่ยนมัน
ด้วยเด็กหญิงตัวเล็กๆและวัยรุ่นสาวในแคมเปญนี้

คลิปนี้ ณ ปัจจุบัน มีคนดูไปแล้วกว่า 58 ล้านครั้ง





3. ผลงานนี้ผมชอบที่สุด

โฆษณา TV ที่ผสมเข้ากับ Social Media อย่าง Twitter 
จากผลิตภัณฑ์กีฬา Under Armour

ทุกครั้งที่ฉายทาง TV "ข้อความ" ที่ปรากฎจะเปลี่ยนไป
แบบ Real Time ตามการ Tweet ถึงโฆษณานี้

การเลือก Presenter อย่าง Gisele นับว่าฉลาดและเหมาะสมกับแบรนด์มาก
เพราะ Under Armour เป็น"มวยรอง"ที่มักโดนสบประมาท
เช่นเดียวกับที่ Gisele Bundchen โดนเสมอๆ 
เธอจึงทำหลายๆอย่างเพื่อพิสูจน์ตัวเองว่าไม่ได้แค่สวย

และนั่นเป็นที่มาขอชื่อผลงาน "I WILL WHAT I WANT"




ติดตาม กลุ่ม Design ในตอนต่อไปนะครับ

#THINKvestment  #innovation #DesignThinking  #Cannes2015   #DrMooThoughts 


วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Cannes 2015 ตอนที่ 1 การแบ่งกลุ่ม



Cannes 2015 ตอนที่ 1 การแบ่งกลุ่ม


เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา
ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานแสดงโฆษณาที่ได้รับรางวัล Cannes 2015

งานนี้จัดโดย Marketeer นิตยสารการตลาดไทยเล่มเดียว
ที่ให้ความสำคัญกับ Cannes มานานกว่า 10 ปี
ซึ่งเห็นได้จากคำกล่าวของบรรณาธิการว่า

"เราไม่ได้มาดูโฆษณา แต่เรามาดูความคิดและการสร้างสรรค์"

จากการร่วมชมและฟังวิทยากรเสวนา 
ผมสรุปภาพรวมของ Cannes ปีนี้ ออกมาได้ 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1. Human; กลุ่มโฆษณาที่ให้ความสำคัญกับ "คน"
อาทิ เรื่องความเสมอภาคทางเพศ สิทธิสตรี ฯลฯ

กลุ่มที่ 2. Design; กลุ่มโฆษณาที่ได้มาจากประสิทธิภาพของ "ดีไซน์"
หรือ ดีไซน์เป็นพระเอกในโฆษณา

แต่ละกลุ่มมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ผมจะมาเล่าให้ฟังในครั้งต่อไปนะครับ

#THINKvestment  #innovation #DesignThinking  #Cannes2015   #DrMooThoughts  








วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

THINKvestment CONCEPT


THINKvestment
CONCEPT

Invest your THOUGHTS, Invest your SUCCESS

การลงทุนความคิด คือ การลงทุนความสำเร็จ


#THINKvestment #innovation #DesignThinking